Unordered List

>>>สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยินดีต้อนรับ ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริการวิชาการ ของ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

103 ข้อมูลหลักสูตร

ข้อมูลหลักสูตร 

หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
พุทธศักราช 2549
-----------------------------
1. ชื่อหลักสูตร  
ชื่อภาษาไทย          :    หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  สาขาสังคมศึกษา
ชื่อภาษาอังกฤษ     :    Bachelor of Education Program in  Social Studies

2. ชื่อปริญญา
ชื่อภาษาไทย    :    ครุศาสตรบัณฑิต  (สังคมศึกษา) / ค.บ. (สังคมศึกษา)
ชื่อภาษาอังกฤษ  :    Bachelor of  Education (Social Studies) / B.Ed.(Social Studies)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง


รหัสหลักสูตร :
หลักสูตรอ้างอิง สกอ. : คุรุศาสตรบัณฑิต
ประเภทหลักสูตร : หลักสูตรปกติ
กลุ่มสาขาวิชา : สังคมศึกษา
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี 5 ปี
ประเภทการเรียน : โครงการปกติ

เวลาเรียน
วันธรรมดา(เช้า)
จำนวนปีที่ศึกษา 5 ปี (ตามหลักสูตร)

ภาค/ปีที่เริ่มรับเข้า : 1/2549
จำนวนภาคการศึกษาต่อปี :  2
จำนวน นศ. รับเข้าต่อปี 40 คน
จำนวนหน่วยกิต 189
เกรดเฉลี่ยต่ำสุด 2.00
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย

สภาอนุมัติ
สกอ. รับรองหลักสูตร
ปรับปรุงครั้งสุดท้าย


4.  ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.1 ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณทิต สาขาสังคมศึกษา  เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตครูชั้นวิชาชีพที่มีความปรีชาสามารถ มีทักษะทางด้านสังคมศึกษา  คุณธรรมจริยธรรม  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักความก้าวหน้า มีความเป็นผู้นำ เกื้อกูลผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดีคือมีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถเผชิญปัญหาหรือวิกฤตได้ด้วยสติปัญญาและบูรณาการความรู้ ทักษะและคุณธรรม จริยธรรมแห่งวิชาชีพและสร้างประโยชน์สู่      ชุมชนท้องถิ่น  สังคม  และประเทศชาติ

4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.2.1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพครู ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดจนมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ในเนื้อหาสาระ มีทักษะและเทคนิควิธีจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นอย่างดี
4.2.2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้ภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.2.3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการความรู้ และทักษะของสาขาวิชาสังคมศึกษากับความรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น
4.2.4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจิตใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีทักษะวิธีการแสวงหาความรู้ในการพัฒนาวิชาการและพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก
4.2.5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู มีโลกทัศน์ที่กว้างและ  เจตคติที่ดี    มีความรัก และศรัทธาในวิชาชีพ มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นทางสังคมได้อย่างมีวิจารณญาณบนพื้นฐานของคุณธรรม เหตุผลและความรู้
4.2.6. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสนใจและตระหนักต่อปรากฏการณ์ทางสังคม และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและท้องถิ่น เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของสังคม

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวม
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 168 หน่วยกิต
 
โครงสร้างของหลักสูตร แบ่งออกเป็นหมวดวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    (1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12-15          หน่วยกิต
    (2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์   3- 9          หน่วยกิต
    (3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์   3- 9          หน่วยกิต
    (4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  6-12          หน่วยกิต
 
2. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    (1) กลุ่มวิชาเนื้อหา ไม่น้อยกว่า     75          หน่วยกิต
           - กลุ่มวิชาเนื้อหาบังคับ     51          หน่วยกิต
           - กลุ่มวิชาเนื้อหาเลือก ไม่น้อยกว่า      24          หน่วยกิต
    (2) กลุ่มวิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า      57          หน่วยกิต
           - กลุ่มวิชาชีพครูบังคับ      51          หน่วยกิต
           - กลุ่มวิชาชีพครูเลือก ไม่น้อยกว่า      12          หน่วยกิต
 
3 หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น